Fibonacci Lines คืออะไร?
Fibonacci เป็นอินดิเคเตอร์ที่ถูกคิดค้นโดย Leonardo Fibonacci เขาเป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อดัง หลังจากที่เขาได้ค้นพบว่าตัวเลขอาราบิกนั้นง่ายต่อการคำนวณและมีประสิทธิภาพมากกว่าตัวเลขโรมัน เขาจึงได้ออกเดินทางไปที่คาบมหาสมุทรเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ กับนักคณิตศาสตร์ชื่อดังชาวอาหรับ และในที่สุดเค้าได้ค้นพบตัวเลข Fibonacci คือ 1 1 2 3 5 8 ... ที่มาของตัวเลขนี้เกิดจากการบวกกันของตัวเลขด้านหน้าและผลลัพธ์ที่ได้คือ ตัวเลขด้านขวา เช่น 1+1 = 2 / 2+3 = 5 / 5+3 = 8 เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งผู้คนในยุคนั้นเรียกว่าตัวเลขนี้ว่าตัวเลขมหัศจรรย์ ความสัมพันธ์ของตัวเลข Fibonacci นั้นลงตัวกันอย่างน่าเหลือเชื่อ ทำให้ผู้คนต่างนำทฤษฎี Fibonacci ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านต่างๆ และที่สำคัญตัวเลข Fibonacci ยังถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ทิศทางการเคลื่อนที่ของราคาได้อย่างแม่นยำ ทำให้ เทรดเดอร์และนักลงทุนมากมายนำอินดิเคเตอร์ชุดนี้มาเพื่อประกอบการวิเคราะห์การเทรดของตนเอง
ทำไมถึงควรใช้ Fibonacci Lines ในการเทรด?
Fibonacci Lines เป็นอินดิเคเตอร์ที่เทรดเดอร์ควรฝึกใช้ให้เป็น เพราะอินดิเคเตอร์ชุดนี้มีประโยชน์อย่างมากในการคาดการณ์การเคลื่อนที่ของราคาและที่สำคัญคือ Fibonacci Lines สามารถบอกข้อมูลแนวรับ-แนวต้านสำคัญได้อย่างละเอียด รวมทั้งมีความสามารถการคาดการณ์ระยะทางการเคลื่อนที่ของราคาในอนาคตที่อินดิเคเตอร์ชนิดอื่นไม่สามารถทำได้ ดังนั้นหากเทรดเดอร์ท่านใดที่สามารถใช้ Fibonacci Lines เป็นจะทำให้เทรดเดอร์สามารถเข้าออร์เดอร์ที่จุดแนวรับ-แนวต้านสำคัญได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งความสามารถในการมองทิศทางการเคลื่อนที่ของกราฟในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น
ข้อดีของการใช้งาน Fibonacci Lines
การใช้งาน Fibonacci Lines ไม่เพียงแต่ทำให้เทรดเดอร์สามารถหาจุดเข้าออร์เดอร์ได้ง่ายขึ้นเท่านั้น แต่ Fibonacci Lines เป็นอินดิเคเตอร์ชิ้นสำคัญที่จะทำให้เทรดเดอร์สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจที่อย่างมีประสิทธิภาพเพราะ Fibonacci Lines มีความสามารถในการแสดงแนวรับ-แนวต้านมากกว่าหนึ่งจุด ทำให้ เทรดเดอร์สามารถพิจารณาตัวเลือกในการเข้าออร์เดอร์ที่สมเหตุสมผลมากที่สุด และอีกหนึ่งทักษะสำคัญที่ Fibonacci Lines จะมอบให้กับเทรดเดอร์ก็คือ การแสดงทิศทางที่ราคาสามารถวิ่งไปได้ในอนาคต หรือที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักเรียกว่าการหาเป้าหมายราคา (Target)
วิธีการตั้งค่าการใช้งาน Fibonacci Lines ใน IQ OPTION
Fibonacci Lines เป็นอินดิเคเตอร์พื้นฐานที่สามารถหาใช้งานได้ฟรีที่แพลตฟอร์มการเทรดของ IQ OPTION สำหรับเทรเดอร์ที่สนใจอยากลองใช้งานอินดิเคเตอร์ Fibonacci โปรดทำตามขั้นตอนดังนี้
1. เปิดแพลตฟอร์ม IQ OPTION ผู้ใช้บริการใหม่สามารถสมัครรหัสผ่านได้ฟรีที่หน้าเว็บไซต์ ส่วนสมาชิกเดิมให้ทำการล็อคอินเข้าสู่บัญชีเพื่อเริ่มต้นเข้าสู่บัญชีการเทรด
2. คลิกไปที่เมนูหมายเลข 1 เพื่อเปิดใช้งานหน้าต่างเครื่องมือ จากนั้นคลิกไปที่ Fibonacci Lines (ตามหมายเลข 2 ในภาพ)
3. หลังจากทำการคลิกไปที่ Fibonacci Lines อินดิเคเตอร์จะปรากฏบนหน้าจอ ดังภาพประกอบ
อินดิเคเตอร์ Fibonacci Lines เป็นเอินดิเคเตอร์ที่แตกต่างจากอินดิเคเตอร์ชนิดอื่นๆตรงที่ว่า เทรดเดอร์ต้องทำการตีเส้นเอง เพราะรูปแบบการใช้งานของ Fibonacci Lines จะเป็นการตั้งค่าตามการวิเคราะห์เฉพาะจุด โดยวิธีการตีเส้น Fibonacci Lines จะมีอยู่ด้วยกันสองแบบคือ ตีตามเทรนด์ขาขึ้น(Bullish)
และตีตามเทรนด์ขาลง(Bearish)
การตีเส้น Fibonacci Lines ในเทรนด์ขาขึ้น (Bullish)
- จุดสังเกตคือ ให้ทำการตีเส้นจากจุดต่ำสุด(Swing Low) ไปจุดสูงสุด(Swing High) ใช้หลักการเดียวกับการตีเส้นเทรนด์
การตีเส้น Fibonacci Lines ในเทรนด์ขาลง (Bearish)
- จุดสังเกตคือ ให้ทำการตีเส้นจากจุดสูงสุด(Swing High) ไปจุดต่ำสุด(Swing Low) ใช้หลักการเดียวกับการตีเส้นเทรนด์
วิธีการวิเคราะห์ Fibonacci Lines
หลังจากที่ทำการตีเส้น Fibonacci Lines เราจะได้เส้นมาทั้งหมด 6 เส้น ได้แก่ 0, 23.6, 38.2, 50, 61.8, 100 สำหรับลำดับเส้นแต่ละชั้นเราจะเอาไว้ใช้เป็นแนวรับ-แนวต้านในการหาจุดเข้าออร์เดอร์ แต่ให้พิจารณาแค่สามตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ 38.2, 50, 61.8 (ลำดับตัวเลขบ่งบอกถึงความแข็งแรงของแนวรับ-ต้าน)
สำหรับการเข้าออร์เดอร์จะมีอยู่ด้วยกันสองทางเลือกคือ
1. เข้าออร์เดอร์จากการ Breakout เส้น Fibonacci Lines
2. เข้าออร์เดอร์แบบหาจุดกลับตัว จากแนวรับ-แนวต้าน Fibonacci Lines
การหาจุดเข้าออร์เดอร์ในเทรนด์ขาขึ้น (Bullish)
หากตำการตีเส้น Fibonacci Lines เรียบร้อยแล้วให้รอสัญญาณการกลับตัวที่จุด 38.2, 50, 61.8 โดยพิจารณาจากพฤติกรรมของราคาว่า ราคาให้ความสำคัญกับแนวใด
การหาจุดเข้าออร์เดอร์ในเทรนด์ขาลง (Bearish)
หากตำการตีเส้น Fibonacci Lines เรียบร้อยแล้วให้รอสัญญาณการกลับตัวที่จุด 38.2, 50, 61.8 โดยพิจารณาจากพฤติกรรมของราคาว่า ราคาให้ความสำคัญกับแนวใด
จากตัวอย่างนี้จะค่อนข้างพิเศษกว่าปกติเพราะ แต่เดิมเราจะใช้ตำแหน่ง 38.2, 50, 61.8 เป็นแนวต้านสำหรับเทรนด์ขาลง แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาคือ ราคาเกิดการ Breakout ที่ตำแหน่ง 38.2 (ตามภาพประกอบ) เราสามารถพิจารณาการเข้าเทรด Breakout ในตำแหน่งนี้ได้เลยในกรณีที่ราคาสามารถปิดเหนือแนว 38.2 และให้เราใช้ตำแหน่งเส้น 50 เป็นแนวระวัง แต่ในกรณีที่กราฟ Breakout ขึ้นไปใกล้เส้น 50 ห้ามเรา เทรด Breakout เด็ดขาดเพราะราคาอาจเกิดการกลับตัว ณ ตำแหน่งนี้ได้ แต่แล้วในที่สุดกราฟก็สามารถขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญที่ตำแหน่ง 61.8 แล้วเกิดการกลับตัวลง ดังนั้นเราจึงสามารถใช้ตำแหน่งนี้ในการเข้าออร์เดอร์ขาย(Sell) ได้อีกหนึ่งครั้ง