ในบทความนี้ เราจะพูดถึงวิธีการใช้ข้อมูลที่คุณพบในแพลตฟอร์ม Finviz และโดยเฉพาะวิธีการใช้ข้อมูลในการเทรดจริงหรือเมื่อตอนตัดสินใจเลือกหุ้นผ่านวิธี value screening
Finviz เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความรู้
Finviz ทำหน้าที่เป็นตัวกลางของแหล่งข้อมูลหลายที่ เพราะ Finviz รวบรวมข้อมูลจากตลาดแลกเปลี่ยนหุ้น, Bloomberg, the Wall Street Journal Marketwatch, CNBC และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ไม่เพียงแค่คุณจะได้เห็นกราฟของหุ้นแต่ละตัวเท่านั้น แต่คุณยังจะได้เห็นข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทและข่าวสารล่าสุดอีกด้วย
เพื่อที่จะเหนือกว่าคู่แข่ง Finviz มีการวิเคราะห์ทางเทคนิคพื้นฐานเพิ่มเติมจากพื้นฐานอีกด้วย ทุกอย่างรวมไว้อยู่ในที่เดียว แถมยังฟรีอีกด้วย แต่คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าจะทำอย่างไรกับข้อมูลเหล่านี้ และจะรู้ได้อย่างไรว่าควรจับตาดูตัวไหน?
ติดตามดูหุ้นตัวไหนดี?
หากคุณอยากเริ่มต้มใหม่อย่างสมบูรณ์ มีสองวิธีที่คุณสามารถทำได้ วิธีแรกคือการวิเคราะห์อย่างละเอียด ส่วนวิธีที่สองคือตัวกรองโดยใช้ Finviz maps ที่ “map” คุณสามารถเลือกจากตัวเลือก อย่างเช่น 1 Year Performance หรือ Year To Date Performance คุณสามารถดูได้ทันทีว่าหุ้นตัวไหนกำลังมีราคาเพิ่มขึ้นหรือตกลงใน swing scale (รายสัปดาห์/รายเดือน)
Map ประสิทธิภาพของ Finviz
โดยส่วนตัวแล้วผมใช้ตัวกรองนี้เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของตลาดได้ดีขึ้น สิ่งนี้ทำให้เราสามารถดูความคืบหน้าของสถานการณ์เศรษฐกิจ Finviz รวบรวมหุ้นทั้งหมดไว้ใน sectors เพื่อให้เห็นได้ชัดเจนว่าเทคโนโลยี การเงิน การดูแลสุขภาพ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ เป็นอย่างไรบ้าง
จากการวิเคราะห์นี้ เราสามารถเลือกหุ้นที่ราคากำลังเพิ่มขึ้นและลดลงในระยะยาว และเจาะลึกทีละตัวในการวิเคราะห์ต่อได้
การวิเคราะห์ทางเทคนิค ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน ตัวเลือกที่สองคือการใช้ตัวกรองทั่วไป
การใช้ตัวกรองของ Finviz
Finviz มีตัวกรองดี ๆ มากมาย เราไม่สามารถอธิบายทุกตัวได้ในบทความนี้ แต่เราสามารถพูดถึงตัวที่นิยมและสำคัญที่สุดได้ ดังนั้นมาพูดถึงตัวชี้วัด มูลค่าในอุดมคติ และดูวิธีในการเลือกหุ้นที่จะซื้อ
ตัวกรองของ Finviz
Price-to-Earnings ratio (P/E)
Price-to-Earnings ratio หรือย่อเป็น P/E หรือ PE คืออัตราส่วนระหว่างราคาตลาดของหุ้นและกำไรสุทธิต่อหุ้น สิ่งนี้ถือเป็นตัวชี้วัดพื้นฐาน มันคล้ายคลึงกับ moving average ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค P/E บอกเราว่านักลงทุนยินดีที่จะจ่ายเป็นจำนวนเท่าใดเพื่อกำไรของบริษัท
หากราคาหุ้นเท่ากับ $60 และรายได้ของบริษัทต่อหุ้นเท่ากับ $3 จะได้ P/E เท่ากับ 20 (60 หารด้วย 3) ในกรณีนี้ นักลงทุนจะยอมจ่าย $20 สำหรับทุก ๆ ดอลลาร์ที่บริษัททำกำไรได้
ตัวชี้วัด P/E แบบปกติจะวัดราคาหุ้นปัจจุบันด้วยกำไรในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีตัวชี้วัด P/E ล่วงหน้า ซึ่งวัดราคาปัจจุบันด้วยกำไรที่คาดหวังในปีถัดมา
อัตรา P/E ในอุดมคติเป็นอย่างไร?
พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ อัตรา P/E บอกเราว่าราคาหุ้นในตลาดสูงกว่ารายได้ต่อหุ้นกี่เท่า หากคิดโดยใช้สามัญสำนึกแล้ว เราคงต้องการกำไรสูงสุดโดยใช้เงินน้อยที่สุด ซึ่งนั้นอาจจะมีความเสี่ยงมาเกี่ยวข้อง
Tobias Levkovich จาก Citigroup ได้ทำการทดสอบความเกี่ยวข้องกันระหว่าง P/E และการพัฒนาของราคาหุ้นในดัชนี S&P 500 การวิเคราะห์นี้พบว่าอัตราส่วนที่ดีที่สุดนั้นอยู่ระหว่าง 14-16 ด้วยข้อยกเว้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ค่าเฉลี่ย P/E ที่ผ่านมาในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
P/E ทำให้เรารู้ถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่เราไม่แนะนำให้เทรดจากการใช้เพียงแค่สิ่งนี้เท่านั้น กำไรปีที่แล้วอาจไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง และ P/E ล่วงหน้าคำนวณจากการใช้ค่าประมาณ อัตรา P/E นั้นข้อดีแต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่าง ควรใช้ร่วมกับข้อมูลอื่น ๆ
มูลค่าตามราคาตลาด (Market Cap.)
มูลค่าตามราคาตลาดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คุณไม่ควรพลาดเลย ศักยภาพในการเติบโตที่สูงจะพบได้มากที่สุดในบริษัทเล็ก ในขณะที่บริษัทใหญ่จะมีเสถียรภาพมากกว่า
โอกาสที่หุ้นของบริษัท Apple จะเพิ่มมูลค่าสองเท่าภายใน 2 ปีมีมากแค่ไหน? เข้าใกล้ศูนย์เลย แต่ถ้าเป็นบริษัทเล็ก ๆ แล้วล่ะก็ อะไรก็เกิดขึ้นได้
ในแง่ของการคำนวณ มูลค่าตามราคาตลาดจะเท่ากับราคาต่อหนึ่งหุ้น คูณด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมด
บริษัทหนึ่ง ๆ จะถูกมองว่าเป็นบริษัทใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาหากมูลค่าตามราคาตลาดมากกว่า $1 หมื่นล้าน ขนาดกลางจะอยู่ระหว่าง $2 พันล้าน - $1 หมื่นล้าน ในขณะที่บริษัทเล็กจะมีมูลค่าต่ำกว่า $2 พันล้าน
มูลค่าราคาตามราคาตลาดบน Finviz
เนื่องจากจำนวนเงิน $2 พันล้านก็ยังคงเยอะอยู่ เราเลยสามารถแบ่งต่อไปได้อีก บริษัทที่มีมูลค่าน้อยกว่า $300 ล้านคือบริษัทระดับไมโคร และบริษัทที่มี Market capitalization เท่ากับ $50 ล้านคือบริษัทระดับนาโน หากคุณต้องการต่ำกว่านี้ให้มองหา Penny Stock แทน
หากคุณเคยดูหนังในตำนานเรื่อง Wolf from Wallstreet แล้ว คุณคงรู้ว่านี่หมายถึงอะไร
การเลือกบริษัทจาก Market capitalization นั้นขึ้นอยู่กับคุณเลย แต่ถ้าผมจะมองหาสิ่งที่ดูมีศักยภาพสูง ผมจะเลือกบริษัทขนาดเล็ก
Income (รายได้จากการดำเนินงาน)
เจ้าของบริษัททุกคนสนใจในรายได้และกำไร Income ในภาษาอังกฤษแปลว่ารายได้จากการดำเนินงาน มันไม่ใช่ค่าที่มีความหมายในตัวเอง ต้องมีข้อมูลสำคัญอื่น ๆ มาเปรียบเทียบด้วย
อัตราค่าใช้จ่าย/รายได้ บ่งบอกถึงอัตราค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้ หรือก็คือบริษัทมีประสิทธิภาพเพียงใด หรือต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าใดจึงจะมีรายได้ หากบริษัทมียอดขายที่สูงและค่าใช้จ่ายต่ำ บริษัทนี้มีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพมากกว่าคู่แข่ง ทำให้อาจมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งและกลายเป็นแหล่งลงทุนที่ดี
อัตราค่าใช้จ่าย/รายได้เหมาะสมสำหรับการเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ซึ่งอาจแตกต่างไปตามตลาด, Segment และสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวม ตัวอย่างเช่น ในช่วงเวลาวิกฤติ ตัวชี้วัดนี้มักเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการในค่าใช้จ่ายต่ำที่มากขึ้น อย่างที่เห็นในการเปรียบเทียบปีวิกฤติ 2008 กับปี 2007
อัตราค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ/รายได้ในช่วงเวลาวิกฤติปี 2008 เปรียบเทียบกับก่อนวิกฤติ
กำไรต่อหุ้น (Earnings Per Share: EPS)
ตัวชี้วัด EPS (กำไรต่อหุ้น) สามารถใช้เป็นตัวเสริมกับ P/E ได้ EPS แสดงให้เห็นกำไรหลังจากหักภาษี และเงินปันผลต่อหุ้น หรือในอีกนัยหนึ่งก็คือ จำนวนกำไรต่อหุ้นสามัญที่สามารถจ่ายในรูปแบบเงินปันผลได้ หากบริษัทไม่ได้พิจารณาการลงทุนใหม่
อย่างไรก็ตาม ในบทความเราตั้งใจวางส่วนของตัวชี้วัด EPS ไว้ด้านล่าง Income แทนที่จะเป็นด้านล่างย่อหน้าของ P/E
ทำไมน่ะเหรอ? เพราะเราสามารถเชื่อมโยง EPS เข้ากับ Income ได้ยังไงล่ะ ตัวชี้วัดทั้งสองนี้ไม่ได้บอกอะไรมากในตัวมันเอง แต่มันจะใช้ประโยชน์ได้ในการเปรียบเทียบ อย่างไรก็ตามการเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ๆ หรือกับข้อมูลอื่น ๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นเสมอ
เงินปันผล (Dividends)
มันคุ้มหรือไม่ที่จะติดตามดูว่าบริษัทจ่ายเงินปันผลหรือไม่ และจ่ายเท่าไหร่?
คำตอบคือ ใช่ และไม่
มันขึ้นอยู๋กับการเลือกหุ้น ระยะเวลาในการลงทุน และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย และยังมีเรื่องของหุ้นเติบโตเร็ว หุ้นปันผล และหุ้นกลุ่มอื่น ๆ แต่โดยทั่วไปแล้วเงินปันผลสามารถลดความเสี่ยงในการลงทุนได้ และคุ้มค่าที่จะตรวจสอบ
หากผมรู้ว่ามีหุ้นบางตัวที่มีความเสถียรมานานแล้ว และจ่ายเงินปันผลที่สูง จะได้ว่าหุ้นตัวนี้เป็นแหล่งการลงทุนที่ดีหากพิจารณจากปัจจัยเหล่านี้เท่านั้น
โดยทั่วไปแล้วคุณสามารถมองหาหุ้นที่มีอัตราเงินปันผลรายปีอยู่ที่ 3-4 เปอร์เซ็นต์และมากกว่า นี่เป็นจำนวนที่นำอัตราเงินเฟ้อและความเสี่ยงการลงทุนโดยรวมมาคิดแล้ว
Volume เฉลี่ย (Transaction Volume)
ตัวชี้วัดสุดท้ายคือ volume เฉลี่ยของหุ้นที่เทรดต่อวัน คุณจะได้ใช้ตัวชี้วัดนี้เมื่อวิเคราะห์บริษัทขนาดเล็ก และโดยเฉพาะเมื่อเงินทุนของคุณสูงกว่าค่าเฉลี่ย
อุปสงค์และอุปทานที่เพียงพอแปลว่าการดำเนินการในคำสั่งเทรดของคุณก็จะไวไปด้วย และเป็นการลดต้นทุนโดยรวม (หรือที่เรียกว่า Slippage) โดยส่วนตัวแล้วผมจะเลือกที่มีมูลค่าอย่างน้อย $300,000 ต่อวัน
Finviz กับตัวชี้วัด
ในตอนนี้เราจะนำปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นไปใช้ในตัวกรอง finviz.com และเพิ่มองค์ประกอบในการวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้าไปด้วย ตัวอย่างเช่น เงื่อนไขในการซื้ออย่างง่าย – ราคาสูงกว่า moving average เป็นระยะเวลา 50 วัน ผลลัพธ์จะเป็นดังต่อไปนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2019):
ผลลัพธ์ตัวกรองบน Finviz
จากนั้น การคลิกเปิดแต่ละบริษัทและทำการวิเคราะห์ทางเทคนิคขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างที่คุณเห็น ทุกอย่างเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบ คุณเพียงต้องทำความเข้าใจในพื้นฐาน เข้าใจพื้นฐานการวิเคราะห์ทางเทคนิค และสามารถสร้างการวิเคราะห์ขั้นสูงได้
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับ Finviz? คุณเป็นผู้ใช้อยู่แล้วหรือไม่? คุณเลือกหุ้นจากอะไร? บอกให้เราได้รู้ในช่องความคิดเห็น!
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
• Stock Screener คืออะไร? – ตัวกรอง