ในบทความวันนี้ของเรา เราจะพูดถึงตัวชี้วัดที่เป็นที่นิยมมากโดยเฉพาะในหมู่มือใหม่ ความนิยมเกิดจากการที่ตัวชี้วัดนี้มีอยู่ในกลยุทธ์มากมายตามเว็บไซต์ ฟอรั่ม และอื่นๆ ทำให้มันง่ายสำหรับมือใหม่ที่จะทำความคุ้นเคยและทำตามโดยที่ไม่ต้องรู้ว่าค่าที่ได้มีความหมายอย่างไร
คุณอยากรู้ไหมว่าผมกำลังพูดถึงตัวชี้วัดไหนอยู่? มันแสดงค่าใด? ค่าเหล่านี้มีความหมายอย่างไร และจะนำไปใช้กับตัวชี้วัดได้อย่างไร? อ่านต่อเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม!
Stochastic oscillator
Oscillator อยู่กับเรามานานหลายทศวรรษแล้ว คิดค้นขึ้นโดย George Lane ในช่วงปี 1950 ตัวชี้วัด Stochastic ไม่แสดงราคาของสินทรัพย์ที่กำหนดหรือ volume ของเทรดที่สร้างเลย มันจะแสดง ความเร็วในการเปลี่ยนแปลงของราคา การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะถูกแปลงเป็นตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 100 ที่สามารถพล็อตได้ง่ายในแผนภูมิ
นี่คือหน้าตาของ stochastic oscillator
อย่างที่ได้พูดถึงไปด้านบน รูปภาพนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าค่าของ oscillator ขยับ หรือ “แกว่ง” อยู่ระหว่าง 0 และ 100 ง่ายๆ เลยครับ แต่ค่าพวกนี้บอกอะไรเราบ้าง?
ตามนี้เลยครับ:
- เมื่อเส้น (ค่าของ stochastic oscillator) อยู่ที่ด้านบน (ใกล้ 100 เอาเป็นว่าประมาณ 80+) แปลว่าสินทรัพย์มีการ overbought
- เมื่อเส้นอยู่ใกล้ด้านล่าง (ต่ำกว่า 20) เราสามารถสันนิษฐานได้ว่าสินทรัพย์มีการ oversold
Overbought และ oversold
คำทั้งสองคำสามารถแปลได้ดังนี้: overbought แปลว่าสินทรัพย์ถูกซื้อมากเกินไป ส่วน oversold มีความหมายตรงกันข้ามกันเลย นั่นก็คือสินทรัพย์ที่มีการขายมากเกินไป นี่คือสิ่งที่ตัวชี้วัด stochastic แสดงครับ มันแสดงถึงความต้องการสินทรัพย์ในปัจจุบันให้เราได้เห็น สินทรัพย์เหล่านี้มีความหมายได้สองอย่าง:
เราสามารถคาดหวังถึงการกลับตัวของเทรนด์ (…จาก overbought เป็น oversold) หรือไปในทางตรงกันข้าม ซึ่งก็คือการคงสถานภาพปัจจุบัน (status quo) ไว้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ตามที่แสดงในรูปภาพด้านล่าง ทั้งสองตัวเลือกมีโอกาสเกิดขึ้นได้
ละเลยลูกศรล่างที่ด้านล่าง stochastic oscillator
อย่างที่คุณได้เห็นจากรูปภาพด้านบน ทั้งสองกรณีเกิดขึ้น
- ทันทีที่ oscillator ตกลงต่ำกว่าเส้น 20 (ที่จุดเริ่มต้นของ เส้น Fibonacci) ราคาพุ่งสูงขึ้น สินทรัพย์ที่ oversold เปลี่ยนกลับเป็น overbought นำไปสู่การเพิ่มสูงขึ้นในทันที
- หลังจากการเพิ่มขึ้นครั้งแรกเหนือเส้น 80 ค่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเวลานานและผู้ซื้อยังคงซื้อต่อไป แทนที่ราคาจะตกลง กลับขึ้นสูงมากกว่าเดิมอีก
ตัวชี้วัด Stochastic ใช้งานอย่างไร
ตัวชี้วัดนี้สามารถใช้ได้สองวิธี คุณสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการ filter เทรดได้ คุณสามารถทำได้ทั้งการเทรดตามเทรนด์ (ราคามีการเปลี่ยนแปลงตามเทรนด์ระยะยาว) หรือในทิศทางตรงกันข้าม
กรณีที่ 1:
กรณีที่ 1: Twin peak, 100% rebound Fibonacci ยืนยันโดยใช้การกลับตัวของตัวชี้วัด Stochastic
กรณีนี้แสดงวิธีที่คุณสามารถใช้ตัวชี้วัด stochastic เพื่อยืนยันสัญญาณ ในทางด้านซ้ายของแผนภูมิ คุณจะเห็นลูกศรสองอันที่เกิดขึ้นจากกลยุทธ์ BERSI Scalp หากคุณใช้ stochastic oscillator เป็น filter ล่ะก็ คุณจะสามารถหลีกเลี่ยงโอกาสขาดทุนทั้งสองนี้ได้
ที่ตรงกลางของรูป คุณจะเห็นเส้นแนวตั้งสองเส้นอยู่ ทั้งสองเส้นทำเครื่องหมายในจุดที่เทรนด์กลับตัว เมื่อใช้ Stochastic oscillator แล้ว คุณสามารถกรองออกและเห็นได้ว่าราคาจะตกลงในที่สุด ง่ายใช่ไหมล่ะ?
กรณีที่ 2:
กรณีที่ 2: ตัวชี้วัด Stochastic ช่วยยืนยันเทรนด์ต่อเนื่อง
ในกรณีที่สอง อย่างที่คุณเห็นด้านบน คุณจะเห็นว่าราคาพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็วและดิ่งลงในเวลาต่อมา (ทั้งสองช่วงเวลามีการทำเครื่องหมายโดยใช้เส้นแนวตั้ง)
ตัวชี้วัด stochastic แสดงให้เห็นว่าในกรณีหนึ่งราคามีการ oversold และในอีกกรณีเป็นแบบ overbought ไม่มีอะไรง่ายกว่าการตามเทรนด์ของเทรดเดอร์ที่ซื้อหรือขายอีกแล้ว ถ้าคุณตามเทรนด์ไปล่ะก็ ได้กำไรแน่
สัญญาณในกรณีที่ 1 แข็งแรงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมเพราะได้รับความช่วยเหลือจากลูกศร BERSI Scalp ผมขอแนะนำให้คุณเก็บตัวชี้วัด Scholastic ไว้ในคลังเครื่องมือของคุณ
ข้อมูลเพิ่มเติม
คำแนะนำจากผมคืออย่าใช้ stochastic oscillator เป็นเพียงสัญญาณเดียวในการเปิดเทรด อย่างไรก็ตามผมแนะนำให้ใช้มันสำหรับการ filtering หากคุณกำลังจะเปิดเทรด ลองดูบางรูปแบบจากแผนภูมิ (หรือสัญญาณในกลยุทธ์อื่น) คุณควรมองหาก่อนว่าตัวชี้วัด stochastic บ่งบอกถึงอะไร ถ้าตัวชี้วัดไม่ได้ยืนยันการเคลื่อนไหวในทิศทางของคุณ อย่าเพิ่งเปิดเทรด แต่ให้รอสัญญาณถัดไป
ด้วยการ filtering คุณสามารถแยกสัญญาณที่ดีและแย่ออกจากกันได้เพื่อเทรดเฉพาะเมื่อสัญญาณมีความแข็งแกร่งมากพอ หรือเพื่อยืนยันโดยใช้ตัวชี้วัดหลายตัว ตัวชี้วัด stochastic ไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวชี้วัดเดียวที่เทรดเดอร์ควรใช้เป็น filter คุณยังสามารถใช้ ตัวชี้วัด ADX หรือ RSI ก็ได้เช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม