ตอนนี้คุณได้มาถึงตอนที่ 11 ของซีรีส์การวิเคราะห์ทางเทคนิคของเราแล้ว ผมเดาว่าคุณคงได้เรียนตอนก่อนหน้ามาหมดแล้วนะครับ ถ้ายังล่ะก็ ผมขอแนะนำให้คุณลองไปดูก่อน ผมว่าเทรดเดอร์รายวันควรรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้
ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงเส้นแนวรับ แนวต้าน เทรนด์ไลน์ และฟิโบนักชีไปแล้ว แค่นี้ก็เพียงพอสำหรับใช้ในการเทรดแล้วใช่ไหมล่ะ? อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คุณยังไม่รู้ก็คือคุณยังพลาดสิ่งที่สำคัญไปอยู่ นั่นก็คือ จะรู้ได้อย่างไรว่าราคาจะเด้งกลับหรือทะลุผ่านเส้นไปกันแน่? ในตอนที่ 8: ซีรีส์การวิเคราะห์ทางเทคนิค – Breakouts เราได้พูดถึงหัวข้อเกี่ยวกับการยืนยันราคาที่จะทะลุผ่านเส้นซึ่งเป็นหัวข้อที่ตรงข้ามกับที่เราจะคุยกันในวันนี้
การกลับตัว (Reversal) มีอยู่ทั้งหมด 3 ประเภทพื้นฐาน:
- การกลับตัวพร้อมเทรนด์ ที่คุณสามารถเล่นตามไปได้
- การกลับตัวสวนเทรนด์ ที่แนะนำกับเฉพาะเทรดเดอร์ขั้นสูงเท่านั้น
- การกลับตัวกับเทรนด์ที่หยุดนิ่ง ซึ่งสามารถใช้พร้อมกับออปชั่นระยะสั้นได้
3 ประเภทพื้นฐานของการกลับตัว
วิธีหาและยืนยันการกลับตัว
การหาว่าการกลับตัวจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นง่ายมาก สิ่งที่คุณต้องทำคือเพียงแค่วาดเส้นราคาที่สำคัญให้ถูกต้อง จากนั้นในจังหวะที่ราคาเข้าใกล้ประมาณ 10 ปิปเมื่อไหร่ มันจะมีโอกาสในการเด้งกลับไปเมื่อไหร่ก็ได้ ในกรณีแบบนี้นี่แหละที่อาจมีการกลับตัวเกิดขึ้น
เพื่อที่จะทำเช่นนั้นในแบบที่ถูกต้อง และเพื่อหาว่าการกลับตัวจะเกิดขึ้นจริงและไม่ใช่แค่สัญญาณที่เป็นเท็จนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องเรียนรู้วิธีการหาการกลับตัวที่เป็นเท็จ (false reversals) ด้วย เพื่อให้เราไม่ต้องขาดทุนโดยใช่เหตุ และยิ่งเรารู้เร็วแค่ไหน ยิ่งดีแค่นั้น เราสามารถหาการกลับตัวได้โดยใช้สองวิธีพื้นฐาน ได้แก่ การใช้ ตัวชี้วัด หรือ price action และการใช้ทั้งสองวิธีร่วมกันจะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
วิธีจากการใช้ตัวชี้วัด
การเด้งกลับสามารถดูได้อย่างชัดเจนผ่านการใช้ oscillators เช่น stochastic oscillator หรือ DSS Bressert หรือใช้ตัวชี้วัด อย่าง ADX หรือเพียงแสดง Volume ก็ได้เช่นกัน
- วิธีง่าย ๆ โดยใช้ STOCHASTIC
- oscivator ทะลุเส้น 80 หรือ 20 เข้ามาข้างใน
การใช้งาน stochastic oscillator แบบง่าย ๆ
- วิธีง่าย ๆ โดยใช้ VOLUME ในกราฟ
Volume กำลังลดลง – > เราสามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นการกลับตัวที่จะเกิดขึ้นจริง
การใช้งาน volume พื้นฐาน
- การใช้งานเบื้องต้นของตัวชี้วัด ADX
- หากเส้นโค้ง ADX หลักกำลังเข้าหาเส้น 50 เราสามารถรอให้เกิดการกลับตัวสวนเทรนด์ได้ในไม่ช้า (โดยปกติมักจะเป็นการกลับตัวในระยะสั้น ก่อนที่จะเดินหน้าต่อไปในทิศทางก่อนหน้านี้)
การใช้งานเบื้องต้นของตัวชี้วัด ADX
วิธีโดยใช้ Price action
คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการยืนยันการกลับตัวโดยการใช้ price action เร็ว ๆ นี้ในตอนต่อ ๆ ไปของการวิเคราะห์ทางเทคทิค (ที่นี่: ตอนที่ 12: การวิเคราะห์ทางเทคนิค – การยืนยันการกลับตัวโดยใช้ price action) คุณกำลังตั้งหน้าตั้งตารออ่านอยู่หรือเปล่าครับ? แนะนำบทความนี้ให้เพื่อนของคุณและแชร์ลงบน Facebook!